วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5
วันจันทร์ ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2559
(เวลา 12.30-14.30 )
วันพฤหัสบดี ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559
 (เวลา 14.30-17.30)


เนื้อหาที่เรียน






 เรื่อง สมรรถนะทั้ง 7 ด้วยของเด็กปฐมวัย


สมรรถนะ คือ พฤติกรรมบ่งชี้ของแต่ละวัยว่าทำอะไรได้บ้าง 
ตัวอย่าง : การเคลื่อนไหวและการทรงตัว
  3 ปี – วิ่งและหยุดเองได้
  4 ปี – เดินต่อเท้าไปข้างหน้าโดยไม่กางแขน
  5 ปี – เดินต่อเท้าไปข้างหลังโดยไม่กางแขน

ความสำคัญของสมรรถนะ 

  • ทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กและครูมีความรู้ ค

  • ชี้แนะแนวทางในการพัฒนาเด็กเป็นเสมือน “คู่มือช่วยแนะแนว”วามเข้าใจ เด็กมากขึ้น
  • ส่งเสริมวิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยให้ได้คุณภาพดียิ่งขึ้น
  • ทำให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยมีเป้าหมายร่วมกัน

ข้อตกลงเบื้อต้น

  • เด็กปฐมวัยทุกคนมีความแตกต่างระหว่างบุคคล
  • พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก ครู อาจารย์ ควรศึกษาพฤติกรรมบ่งชี้ (สมรรถนะ) ด้วยความเข้าใจ 
  • ไม่ควรถือว่าพฤติกรรมบ่งชี้เหล่านี้เด็ดขาด ถ้าพบว่าเด็กบางคนมีพัฒนาการล่าช้าจากช่วงอายุก็ควรปรึกษาแพทย์เป็นแบบประเมินเด็ก

สมรรถนะ 7 ด้าน ประกอบด้วย

1.การเคลื่อนไหวและสุขภาพทางกาย  
2.พัฒนาการด้านสังคม
3.พัฒนาการด้านอารมณ์ 
4.พัฒนาการด้านการคิดและสติปัญญา
5.พัฒนาการด้านภาษา 
6.พัฒนาการด้านจริยธรรม
7.พัฒนาการด้านการสร้างสรรค์

สรุปงานวิจัย

สมรรถนะจำนวน 419 ข้อ พบว่าเด็กทำได้ในระดับจากง่ายไปหายาก ดังนี้
  สมรรถนะ  178 ข้อ อยู่ระดับ ง่าย
  สมรรถนะ     52 ข้อ อยู่ระดับ ปานกลาง
  สมรรถนะ  189 ข้อ อยู่ระดับ ยาก

วันพฤหัสบดี ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559
 (เวลา 14.30-17.30)



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
การจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวนั้นต้องคำนึงถึงสมรรถนะตามวัยของเด็กและจัดให้พัฒนาเด็กครบทั้ง 4 ด้าน

การประเมินผล

ประเมินตนเอง
สนุกสนานและเข้าใจเนื้อหา

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจเรียนกับอาจารย์มาก

ประเมินอาจารย์
อาจารย์เข้มแข็งในการสอนมากถึงจะไม่สบายแต่ใจสู้มาก เป็นห่วงอาจารย์ค่ะ






วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

วันจันทร์ ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559

(เวลา 12.30-14.30 )

วันพฤหัสบดี ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559

 (เวลา 14.30-17.30)




ความรู้ที่ได้รับ
นำเสนอ ทฤษฎีพัฒนาการทางด้านสังคมของเด็กปฐมวัย และการนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

ทฤษฎีพหุปัญญาGardner
4. ด้านดนตรี (Musical intelligence) แสดงออกทางความสามารถในด้านการร้องเพลง แต่งเพลง ไวต่อการรับรู้เสียงและจังหวาต่างๆปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองซีกขวาเช่นกัน
5. ด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ (Bodily kinesthetic intelligence) สมองส่วนคอร์เท็กซ์คุมปัญญาด้านนี้ โดยด้านซ้ายคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายซีกขวาด้านขวาคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายซีกซ้าย ซึ่งจะแสดงออกด้านการเล่นกีฬา เล่นเกมต่างๆ การแสดง การเต้นรำ เป็นต้น

6. ด้านการสัมพันธ์กับผู้อื่น (Interpersonal intelligence) สมองส่วนหน้าเป็นส่วนที่ควบคุมปัญญาด้านนี้ ซึ่งแสดงออกโดยการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การทำงานกับผู้อื่น การเข้าใจและเคารพผู้อื่น การแก้ปัญหา ความขัดแย้ง และการจัดระเบียบ เป็นต้น ผู้มีปัญญาด้านนี้มักจะชอบช่วยเหลือ และให้คำปรึกษาแก่ผู้อื่น

ทฤษฎีวุฒิภาวะของกีเซลล์

ข้อมูลพื้นฐานของบุคลิกภาพได้ 10 ด้าน
1. ลักษณะการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ มัดเล็ก
2. สุขนิสัยส่วนบุคคล
3. การแสดงออกของอารมณ์
4. ความกลัว ความฝัน
5. ความเป็นตัวของตัวเอง การแสดงออกทางเพศ
6. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
7. การเล่นและการใช้เวลาว่าง
8. การเรียน
9. จริยธรรม
10. ปรัชญาชีวิต การนำไปใช้ในการเรียนรู้ กีเซลล์

การประยุกต์ใช้

•จัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก
•ในกิจกรรมยามเช้า หลังเคารพธงชาติ ครูอาจจัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวประกอบเพลงทุกวัน เช่น แอโรบิค กายบริหารประกอบเพลงอนุบาล
•จัดกิจกรรมเคลื่อนไหวประกอบเพลงในกิจกรรมอื่นๆ เช่น การเคลื่อนไหวประกอบเพลงในกิจกรรมการละเล่นพื้น บ้านของไทย การเล่นรีรีข้าวสาร งูกินหาง ฯลฯ
 จัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวเข้าจังหวะแบบกลุ่ม เช่น การให้เด็กมีส่วนร่วมในการแสดงบทบาทสมมุติ เช่น การเล่านิทาน การเต้นประกอบท่าทางร่วมกัน
•ส่งเสริมในด้านการเข้าสังคมการมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นในการร่วมกิจกรรมเช่นให้เด็กมีส่วนร่วมมีปฏิกิริยาตอบโต้ในการแสดงความคิดเห็น แสดงความต้องการ หรือ การ
•ให้เด็กได้เคลื่อนไหวอย่างอิสระ
•กิจกรรมด้านสังคมทำให้เด็กได้มีการปรับตัวระหว่างบุคคลกับบุคคล

วันพฤหัสบดี ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559


 (เวลา 14.30-17.30)


เริ่มจากการบริหารสมองซีกซ้ายและขวา




 กิจกรรมเคลื่อนไหวอยู่กับที่ อาจารย์จะให้ออกไปทำท่าที่คิดเองตามจังหวะเพลงที่อาจารย์เปิดให้
และรวมกลุ่มกับเพื่อนคิด5ท่าจากง่ายไปยาก




และสุดท้ายอาจารย์ก็สอนให้คิดท่า 3 ท่า อาจารย์ให้ฝึกพูดและยิ้มไปด้วย การยืนหน้าห้องตรงข้ามกับเด็กท่าจะให้้ทำข้างขวาครูจะต้องทำข้างซ้ายเพราะจะเป็นกระจกให้กับเด็ก


การประเมินผล

ประเมินตนเอง
ได้ความรู้ที่หลากหลายในการทำกิจกรรมและความพยายามที่จะทำให้กิจกรรมบรรลุ

ประเมินเพื่อน
เพื่อนร่วมสนุกและทำกิจกรรมกันอย่างเต็มที่

ประเมินอาจารย์

อาจารย์สอนและอบรมพวกเราเหมือนลูกทำให้เราได้ข้อคิดที่หลากหลายแง่มุมของชีวิตผู้หญิง


วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3

วันจันทร์ ที่ 25 มกราคม 2559

(เวลา 12.30-14.30 )





เนื้อหาที่เรียน

การจัดประสบการณ์เคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัย

  • ประเภทกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
1.การเคลื่อนไหวเกี่ยวกับร่างกาย
  • การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่พื้นฐาน
- การเดิน
- การวิ่ง
- การกระโดด
- การคลาน
  • การเคลื่อนไหวแบบไม่เคลื่อนที่
2. การเคลื่อนที่เกี่ยวข้องกับวัตถุ
  • การกระทำให้วัตถุอยู่นิ่งเคลื่อนที่ เช่น การขว้าง การตี
  • การหยุดวัตถุที่เคลื่อนที่ เช่น การรับ 
สำนักพัฒนากรมพลศึกษา สุขภาพและอนามัย แบ่งประเภทกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ดังนี้
1. ประเภทเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานตามจังหวะ
2. ประเภทฝึกปฎิบัติตามสัญญาณหรือข้อตกลง
3.ประเภทกิจกรรมเนื้อหา
4.ประเภทจินตนาการจากคำบรรยาย
5.ประเภทกิจกรรมฝึกความจำ

แนวทางการประเมิน
1. สังเกตการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย
2 .สังเกตทำท่าทางแปลกใหม่
3. สังเกตทำท่าทางตามคำสั่ง
4. สังเกตการแสดงออก
5. สังเกตความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม

  • บริหารสมองซีกซ้ายและขวา

การประยุกต์ใช้

นำประโยชน์ที่ได้จากการเรียนในวันนี้ไปเป็นพื้นฐานสำหรับการเครื่อนไหวต่างๆและสามารถนำท่าการฝึกบริหารสมองไปใช้กับตัวเองและเด็กๆได้

ประเมิน

ประเมินตนเอง
ตั้งใจฟงและเข้าใจเนื้อหาที่อาจารย์สอน

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจเรียนกันเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์
อาจารย์สอดแทรกเนื้อหาที่จำเป็นและเสริมการบริหารให้นักศึกษานำไปฝึก